เชื่อว่าทุกคนเคยรับประทานยาแก้ปวด แต่ทราบหรือไม่ว่ายาแก้ปวดทำงานยังไง แล้วมันรู้ได้อย่างไรว่าเราปวดตรงไหน
ยาแก้ปวดที่เราใช้โดยทั่วไปจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทด้วยกัน คือ ยาพาราเซตามอล และ กลุ่มยาเอ็นเสดNSAIDs หรือยาในกลุ่มต้านการอักเสบที่ไม่ใช่ยาสเตียรอยด์
สาเหตุความเจ็บปวดมันเกิดขึ้นได้ยังไงบ้าง
ในร่างกายของคนเราจะมีเครื่องตรวจความเจ็บปวด เป็นเส้นประสาทพิเศษที่มีชื่อว่า Nociceptor ซึ่งมันจะติดตั้งอยู่เกือบจะทุกส่วนของร่างกายเรา และก็จะทำให้สามารถรับรู้ความเจ็บปวดได้ทั้งภายในและภายนอก เมื่อร่างกายของเราส่วนใดส่วนหนึ่งถูกกระตุ้นขึ้นมา หรือทำให้เซลล์ได้รับความเสียหายอย่างใดอย่างหนึ่ง เช่น นิ้วถูกมีดบาด หรือมือไปโดนของร้อน Nociceptor ก็จะส่งสัญญาณไฟฟ้าไปยังสมองเพื่อเตือนให้เรารับรู้ได้ว่า มีอันตรายเกิดขึ้นกับร่างกายของเรา ที่จะทำให้เรารับรู้ได้ถึงความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นกับร่างกายของเรา และด้วยเหตุผลนี้เอง ทำให้เราต้องกินยาแก้ปวดเพื่อบรรเทาความเจ็บปวดให้กับตัวเอง
ยาแก้ปวดทำงานยังไง วิธีทำงานของยาแก้ปวดคือ เมื่อเซลล์ของคนเราได้รับความเสียหาย มันจะปล่อยเอนไซม์ ที่ชื่อว่า Cyclooxygenase ออกมา สารนี้ก็จะผลิตสาร Prostaglandin และสารตัวนี้ก็จะส่งสัญญาณความเจ็บปวดบอกต่อไปยังสมอง ทำให้เรารู้สึกเจ็บปวดเมื่อเราทานยาแก้ปวดเข้าไปมันก็จะไปช่วยลดการหลั่งของสาร Prostaglandin ทำให้เราไม่รู้สึกเจ็บปวด หรือ เจ็บปวดน้อยลง แต่ไม่ได้หมายความว่าอาการเจ็บปวดจะหายไปเลย สิ่งที่เกิดขึ้นจริงๆแล้วก็คือ มันแค่ไปจับสัญญาณไม่ให้ไปที่สมอง หรือแค่ทำให้เราลืมไปชั่วขณะหนึ่งแค่นั้นเอง
หลายคนมักจะสงสัยกันว่ายาแก้ปวดมันรู้ได้ยังไง จะไปช่วยแก้ปวดตรงจุดไหนบ้างหลังจากที่เรากินยาเข้าไป คำตอบก็คือ ยาแก้ปวดไม่สามารถรับรู้ได้หรอกค่ะ ว่าเราเจ็บหรือปวดตรงไหนบ้าง เพียงแต่ว่าเมื่อเราทานยาแก้ปวดเข้าไปยาก็จะเข้าไปในกระแสเลือดแล้วกระจายไปยังส่วนต่างๆของร่างกาย ทั้งในส่วนที่เรารู้สึกเจ็บและไม่เจ็บ จึงทำให้ส่วนที่เราเจ็บ เจ็บน้อยลง
Credit : จากรายการ Dis you Know..?
Did you Know…?, คุณรู้หรือไม่ ดู, ย้อนหลัง, รายการ, ดูย้อนหลัง, ตอนล่าสุด, ทุกตอน, คลิปวีดีโอ, แก้ปวด, ยา,
ยาแก้ปวดทำงานยังไง, พาราเซตามอล,