ผึ้งมีหน้าที่และวิธีการผลิตน้ำผึ้งได้อย่างไร

0
834

ผึ้งมีหน้าที่และวิธีการผลิตน้ำผึ้งได้อย่างไร

รู้หรือไม่ว่า น้ำผึ้ง” ที่เราใช้กินกันนั้น ผึ้ง มีหน้าที่อย่างไร และมีวิธีผลิตกันอย่างไรบ้าง ถึงจะได้มาเป็น น้ำผึ้ง”

ผึ้งเป็นสัตว์ชนิดแรกที่สามารถผลิตความหวานจากธรรมชาติให้เราได้กินกัน ซึ่งคนโบราณกินน้ำผึ้งกันมานานนับ 10,000 ปี โดยผึ้งจะมีการอาศัยอยู่รวมกันเป็นฝูง ทำงานกันเป็นทีมเหมือนคนในครอบครัวแต่เป็นครอบครัวที่มีขนาดใหญ่ แบ่งหน้าที่การทำงานกันอย่างชัดเจน โดยในรังผึ้งจะประกอบด้วย

  • นางพญาผึ้ง จะทำหน้าที่ผสมพันธ์กับผึ้งตัวผู้ และวางไข่ ผึ้ง1 รังจะมีนางพญาผึ้งแค่ตัวเดียว จะมีอายุประมาณ 1-2 ปี
  • ผึ้งงาน เป็นผึ้งเพศเมีย จะทำหน้าที่หนักกว่าผึ้งชนิดอื่น คือมีหน้าที่ทำความสะอาดรัง คอยเลี้ยงดูแล และป้อนอาหารให้กับผึ้งตัวอ่อน คอยป้องกันศัตรู รวมถึงการออกไปหาอาหาร ผึ้งงานจะมีอายุแค่ 6-8 สัปดาห์
  • ผึ้งตัวผู้ เป็นผึ้งที่ไม่มีเหล็กใน ไม่มีหน้าที่ออกไปหาอาหาร คอยรับอาหารจากผึ้งงานเท่านั้น มีหน้าที่แค่ผสมพันธ์กับผึ้งพญาอย่างเดียว และผสมพันธ์ได้แค่ครั้งเดียวด้วย หลังจากนั้นก็จะตาย

วิธีการผลิตน้ำผึ้ง ของผึ้ง ก็คือ ผึ้งงานจะออกไปหาดอกไม้และจะเก็บเกสรและน้ำหวานของดอกไม้ โดยใช้ลิ้นของมันที่มีลักษณะคล้ายๆกับหลอด มันจะดูดเอาน้ำผึ้งจากดอกไม้ไปเก็บไว้ที่กระเพาะของมัน หลังจากนั้นก็บินกลับรัง ช่วงระหว่างที่มันบินกลับรังนั้น น้ำหวานที่ในกระเพาะก็จะไปรวมกับตัวโปรตีนและเอนไซม์(Enzyme) ที่ผึ้งผลิตขึ้นมาจากต่อมน้ำลาย เกิดความเปลี่ยนแปลงองค์ประกอบเคมีและค่าความเป็นกรด ซึ่งในตอนแรกน้ำผึ้งที่ผึ้งหามานั้น มีน้ำเป็นส่วนประกอบอยู่มาก แต่พอมันกลายเป็นน้ำผึ้งที่สมบูรณ์แล้ว จะมีน้ำเหลืออยู่ประมาณ 15-25% เพราะ ตอนที่ผึ้งกระพือปีกบินนั้น มันทำให้เกิดพลังงานความร้อน ช่วยเร่งการทำงานของเอนไซม์ และลดความชื้นให้กับน้ำหวานได้กลายเป็นน้ำผึ้งได้เร็วขึ้น และเมื่อผึ้งกลับไปถึงรังของมัน ผึ้งที่ไปเก็บน้ำหวานมาก็จะคายน้ำหวานที่ยังเป็นน้ำผึ้งที่ยังไม่สมบูรณ์ดีให้กับผึ้งประจำรัง ซึ่งมันจะรับต่อกันจากปากสู่ปาก แล้วเอาไปเก็บในหลอดรวงผึ้ง ซึ่งมีลักษณะเป็นหกเหลี่ยมจนเต็ม หลังจากนั้นมันก็จะปิดหลอดรวงผึ้งด้วยไขผึ้ง ซึ่งนั่นก็แปลว่า น้ำผึ้งเสร็จสมบูรณ์แล้วนั้นเอง

Credit: รายการ Did you know?

ผึ้ง, น้ำผึ้ง, การผลิตน้ำผึ้ง, ผึ้งนางพญา, ผึ้งงาน, ผึ้งตัวผู้

ทิ้งคำตอบไว้

กรุณาใส่ความคิดเห็นของคุณ!
กรุณาใส่ชื่อของคุณที่นี่